ตัวอย่าง ของ การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา)

ตัวอย่างการทดแทนคุณลักษณะทางตา ภาพลวงตานี้ (รูปคู่ซ้ำทั้ง 3 ชุดมีขนาดเท่ากันใน 2-มิติ) เกิดได้เพราะขนาด 2-มิติ ของบางส่วนของภาพมีการตัดสินตามขนาด 3-มิติ ซึ่งเป็นการคำนวนที่ทำอย่างรวดเร็วโดยระบบสายตา คือรูปจริง ๆ แล้วเป็นภาพ 2 มิติ แต่ระบบสายตาของเราตีความโดยอัตโนมัติเหมือนเห็นภาพ 3 มิติ จึงทำให้รูปคู่ซ้ำทั้ง 3 ชุดดูมีขนาดต่างกันมาก

ภาพลวงตา

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: ภาพลวงตา

ทฤษฎีการทดแทนคุณลักษณะสามารถอธิบายความยืนกรานของภาพลวงตาบางอย่างยกตัวอย่างเช่น เมื่อให้ผู้ร่วมการทดลองตัดสินขนาดของบุคคลสองคนในรูปทัศนมิติ ขนาดของบุคคลอาจจะเกิดความบิดเบือนเพราะลักษณะอื่น ๆ ที่แสดงความเป็น 3-มิติ ทำให้เกิดภาพลวงตาสามารถใช้ทฤษฎีการทดแทนคุณลักษณะอธิบายได้ว่า มีการแทนที่ขนาด 2-มิติ จริง ๆ ของรูป ด้วยขนาด 3-มิติ เพราะขนาด 3-มิติ เข้าถึงได้ง่ายเพราะเป็นสิ่งที่เกิดการคำนวณโดยอัตโนมัติในระบบสายตาแต่ว่า จิตรกรและช่างถ่ายภาพผู้ชำนาญการจะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาพลวงตาเช่นนี้น้อยกว่า เพราะว่า ขนาด 2-มิติของรูปสามารถเข้าถึงได้ง่ายในระบบการรับรู้[5]

การประเมินมูลค่าของประกันชีวิต

ดร. คาฮ์นะมันให้อีกตัวอย่างหนึ่งที่มีการเสนอประกันชีวิตเนื่องกับการก่อการร้าย ให้กับคนอเมริกันกลุ่มหนึ่งระหว่างที่เดินทางไปในยุโรป ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งมีการเสนอประกันชีวิตเนื่องกับความตายทุกประเภทแม้ว่า "ความตายทุกชนิด" จะรวม "ความตายเนื่องกับการก่อการร้าย" คนกลุ่มแรกยินดีที่จะจ่ายเบี้ยประกันมากกว่าคนกลุ่มหลังดร. คาฮ์นะมันเสนอว่า มีการใช้ลักษณะคือความกลัว (เป็น heuristic attribute) แทนที่การคำนวณความเสี่ยงอย่างรวม ๆ ในการเดินทาง (ซึ่งเป็น target attribute)[6] เพราะว่า ความกลัวต่อการก่อการร้ายในผู้ร่วมการทดลองเหล่านี้ มีกำลังกว่าความกลัวต่อความตายในการเดินทางไปต่างประเทศโดยทั่ว ๆ ไป

การเหมารวม

การเหมารวมเป็นแหล่งของคุณลักษณะฮิวริสติกอีกแหล่งหนึ่ง[3] ในการคุยกันตัวต่อตัวกับคนแปลกหน้า การตัดสินความเฉลียวฉลาดของคนแปลกหน้า เป็นการคำนวณที่ซับซ้อนกว่าการตัดสินตามสีผิวดังนั้น ถ้าเรามีการเหมารวมเกี่ยวกับความเฉลียวฉลาดของคนขาว คนดำ หรือคนเอเชีย เราก็อาจจะใช้คุณลักษณะทางผิวพันธ์แทนคุณลักษณะทางปัญญาที่ไม่ค่อยชัดเจนธรรมชาติของการทดแทนคุณลักษณะที่เกิดขึ้นก่อนความสำนึก ที่เป็นธรรมชาติแบบรู้เอง (intuitive) ก็จะอธิบายได้ว่า ทำไมเราจึงได้รับอิทธิพลจากการเหมารวม ทั้ง ๆ ที่เราเองอาจจะคิดว่า เราได้ทำการประเมินที่ตรงกับความจริง ที่ไม่ประกอบด้วยความเอนเอียง เกี่ยวกับความเฉลียวฉลาดของคนแปลกหน้านั้น

ในการประเมินศีลธรรมและความยุติธรรม

มีนักวิชาการทางกฎหมายที่เสนอว่า การทดแทนคุณลักษณะเป็นไปอย่างกว้างขวางเมื่อเราต้องคิดหาเหตุผลในเรื่องศีลธรรม การเมือง และกฎหมาย[7] คือ เมื่อมีปัญหาใหม่ ๆ ที่ยากในเรื่องเหล่านั้น เรามักจะหาปัญหาที่คุ้นเคยกว่าแต่มีความเกี่ยวข้องกัน (ที่เรียกว่า กรณีต้นแบบ หรือ prototypical case) แล้วใช้วิธีแก้ปัญหาต้นแบบ เป็นวิธีแก้ปัญหาที่มีใหม่ซึ่งยากกว่านักวิชาการกล่าวว่า ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่หรือผู้เป็นใหญ่ทางการเมืองหรือทางศาสนาที่เราเชื่อใจ สามารถใช้เป็นลักษณะฮิวริสติก เมื่อเรามีคำถามเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

แหล่งกำเนิดอีกอย่างหนึ่งของลักษณะฮิวริสติกก็คืออารมณ์คือ ความคิดเห็นทางศีลธรรมในประเด็นที่มีความอ่อนไหวเช่น เพศสัมพันธ์ การโคลนมนุษย์ อาจจะเกิดการขับเคลื่อนโดยปฏิกิริยาทางอารมณ์เช่นความสะอิดสะเอียน (disgust) ไม่ใช่โดยหลักความคิดที่เป็นเหตุผล[8] แต่ว่าทฤษฎีของนักวิชาการนี้มีผู้แย้งว่า ไม่ได้ให้หลักฐานที่พอเพียงว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการทดแทนคุณลักษณะ และไม่ใช่เป็นกระบวนการอื่น ที่มีผลต่อกรณีเหล่านี้[4]

ปรากฏการณ์คนสวยคนหล่อเป็นเหมือนคนคุ้นเคย

นักจิตวิทยาอีกท่านหนึ่งทำรายงานชุดการทดลอง ที่ให้ผู้ร่วมการทดลองดูรูปใบหน้า แล้วตัดสินว่าเคยเห็นใบหน้าเหล่านั้นมาก่อนไหมมีการพบอย่างซ้ำ ๆ กันว่า ใบหน้าที่ดึงดูดใจ มักจะรับการระบุอย่างผิด ๆ ว่า เคยเห็นมาแล้ว[9] ผู้ทำงานวิจัยตีความโดยใช้ทฤษฎีการทดแทนคุณลักษณะคือ คุณลักษณะฮิวริสติกในกรณีนี้ก็คือ "ความรู้สึกที่แจ่มใสอบอุ่น"ซึ่งเป็นความรู้สึกต่อคนที่อาจจะเป็นคนคุ้นเคย หรือเป็นคนที่ดึงดูดใจแต่ว่า การตีความเช่นนี้ยังมีผู้ไม่เห็นด้วย เพราะว่า ค่าความแปรปรวน (variance) ของความคุ้นเคยทั้งหมด ไม่สามารถอธิบายได้โดยความดึงดูดใจของรูป[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) //ssrn.com/abstract=1401432 http://www.mit.edu/~lyoung/Site/Publications_files... http://web.princeton.edu/sites/opplab/papers/Opp%2... http://home.uchicago.edu/~xdai/ACR07.pdf http://lawreview.vermontlaw.edu/files/2012/02/12-S... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16209802 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18298269 http://web.archive.org/web/20090420020926/http://w... //doi.org/10.1017%2FS0140525X05000099 //doi.org/10.1037%2F0033-2909.134.2.207